Loading...
navbar





Bootstrap Example

หลักการและเหตุผล

การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 11 หน่วยงาน ได้แก่

  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร   มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • คณะการแพทย์บูรณาการ   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คณะเทคโนโลยีการเกษตร   มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • คณะวิทยาศาสตร์   มหาวิทยาลัยสยาม
  • คณะวิทยาศาสตร์   มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยรังสิต

เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรและนักศึกษามีการสร้างงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการสร้างเครือข่ายในการร่วมดำเนินโครงการวิจัยต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดองค์ความรู้นำไปพัฒนาองค์กร และเผยแพร่สู่สาธารณชน โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ASTC ครั้งที่ 9


วัตถุประสงค์

การจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน (ASTC2023) ครั้งที่ 9 มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

  1.   เพื่อเป็นเวทีให้นักศึกษาได้นำเสนอ หรือแสดงผลงานสู่สาธารณชน
  2.   เพื่อเป็นเวทีให้อาจารย์ นักวิจัย และนวัตกรได้นำเสนอ หรือแสดงผลงานสู่สาธารณชน
  3.   เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
  4.   เพื่อคงความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ในการพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดการประชุมวิชาการระดับชาติ

รายละเอียดของการประชุม

การจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน (ASTC2023) ครั้งที่ 9 มีรายละเอียด ดังนี้

  • วันที่จัดงาน                 วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2566
  • รูปแบบการเข้าร่วม    ออนไลน์
  • Theme ของงาน        วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน (Science and Technology for Sustainability)
  • ผลงานที่รับ                 จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่
    1.  กลุ่มวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Basic Science)
    2.  กลุ่มวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science)
    3.  กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Science)
    4.  กลุ่มคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Computer and Information Technology)
    5.  กลุ่มนวัตกรรม (Innovation)
  • Keynote Speakers    จำนวน 3 ท่าน ได้แก่
    1.  ศาสตราจารย์ ดร.รัตติกร ยิ้มนิรัญ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาการพลังงาน สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)
    2.  ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิด้าน Digital Transformation สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)
    3.  คุณปัทมาวดี พัวพรหมยอด ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
  • การปรับรูปแบบการจัดงาน เพื่อให้ผลงานที่ผ่านการพิจารณาสอดคล้องกับประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
    1.  การจัดการประชุมร่วมกับสมาคมวิชาชีพ (ต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี เริ่มใน ASTC ครั้งที่ 9) จำนวน 3 องค์กร ได้แก่
      •  หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
      •  สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย
      •  สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.)
    2.  การตีพิมพ์บทความที่ได้รับการคัดเลือกจากงานประชุมในวารสารวิชาการที่สอดคล้องกับประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 ได้แก่
      •  วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
      •  วารสารวิชาการ สสอท. ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
      •  วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
      •  Journal of Applied Statistics and Information Technology (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)
      •  วารสารวิชาการ อื่น ๆ (อยู่ในระหว่างการประสานงาน)